วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติหอภาพยนตร์



   หอภาพยนตร์คืออะไร  
        าพยนตร์กำเนิดขึ้นในโลก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๘ โดย นับเมื่อนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสนำภาพยนตร์ชนิดฉายขึ้นจอออกฉายเก็บค่าดูจาก สาธารณชนเป็นครั้งแรกที่กรุงปารีส และหลังจากนั้นได้แพร่กระจายไปทั่วโลก อย่างรวดเร็วและโดยที่ไม่มีใครคาดคิด ภาพยนตร์ได้เติบโตกลายเป็น "มหรสพยอดนิยมของชาวโลกประจำคริสตศตวรรษที่๒๐" กิจการ ผลิตและจำหน่ายภาพยนตร์กลายเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใหญ่โตที่สุดอย่างหนึ่ง ของโลก เมื่อเริ่มมีภาพยนตร์เกิดขึ้นนั้น ได้มีผู้มองเห็นความสำคัญและคุณค่าของภาพยนตร์นอกเหนือไปจากเป็นสินค้าขาย ความบันเทิง คือ เห็นว่ามีค่าเสมือนเป็นเอกสารสำคัญ ทำนองเดียวกับเอกสารประวัติศาสตร์ หรือ เอกสารจดหมายเหตุ ซึ่งควรจะมีหน่วยงานทำหน้าที่รวบรวมจัดเก็บเพื่อรักษาไว้ให้เป็นมรดก ของมนุษยชาติเช่นเดียวกับการมีหอสมุดเก็บรักษาหนังสือหอจดหมายเหตุเก็บรักษา เอกสาร หรือพิพิธภัณฑ์สถานเก็บรักษาศิลปวัตถุและโบราณวัตถุ


          ผู้มีสายตายาวไกลผู้หนึ่งคือ "เบเลสลอว์ มาตุสซิวสกี" ช่างถ่ายภาพชาวโปแลนด์ซึ่งลงทุนตีพิมพ์สมุดเล่มเล็ก ๆ เพื่อเสนอข้อเรียกร้องดังกล่าวนี้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๑ แต่ปรากฏว่าเวลาผ่านเลยไปถึง ๓๕ ปี จึงมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นทำหน้าที่เก็บรักษาภาพยนตร์ขึ้นเป็นแห่งแรกใน โลก คือ การตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า "หอภาพยนตร์ (FILM ARCHIVE)" ขึ้นเป็นแห่งแรกที่กรุงสตอคโฮล์ม ประเทศสวีเดน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ซึ่ง เป็นเวลาที่เกิดความตระหนักกันขึ้นแล้วว่า ฟิล์มภาพยนตร์อันเป็นสื่อวัสดุที่บอบบางที่สุดในบรรดาสื่อต่าง ๆ ที่มนุษย์คิดประดิษฐ์ขึ้นมา ได้สูญหายไปเป็นอันมากแล้วเนื่องจากการเสื่อมสภาพของฟิล์มเอง เพราะไม่ได้ รับการดูแลรักษาการทำลายหรือทอดทิ้งเพราะไม่เห็นคุณค่าโดยเจ้าของเองโดย เฉพาะเมื่อเกิดภาพยนตร์เสียงขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เป็นเหตุให้มีการทำลายทิ้งฟิล์มภาพยนตร์เงียบไปเป็นจำนวนมากรวมทั้งการ นำไปรีไซเคิลใช้เป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าอื่นๆ 



          หลังจากนั้นได้มีการจัดตั้งหอภาพยนตร์ทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐและของเอกชน ขึ้นมาทีละรายสองรายเป็นลำดับคือ พ.ศ. ๒๔๗๗ มีการจัดตั้ง "หอภาพยนตร์แห่งชาติ (REICHSFILMARCHIV)" กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน พ.ศ. ๒๔๗๘ มีการจัดตั้ง "หอสมุดภาพยนตร์แห่งชาติ (NATIONAL FILM LIBRARY)" ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและ "หอสมุดภาพยนตร์ แห่งพิพิธภัณฑ์ศิลปสมัยใหม่" นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกาและ เริ่มมีการเก็บสะสมฟิล์มภาพยนตร์ในมิลาน อิตาลี ซึ่งต่อมากลายเป็น "หอภาพยนตร์แห่งชาติ อิตาลี (CINETECA ITALIANA)" พ.ศ. ๒๔๗๙ มีการก่อตั้ง "หอภาพยนตร์หรือภาพยนตร์สถานแห่งฝรั่งเศส (CINEMATHEQUE FRANCAISE)" ที่กรุงปารีส ต่อมา ที่กรุงปารีส ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ บรรดาหอภาพยนตร์รุ่นบุกเบิกจาก ๔ เมืองคือ นิวยอร์ค เบอร์ลิน ลอนดอน และปารีส ได้ร่วมมือกันจัดตั้ง "สมาพันธ์หอภาพยนตร์ระหว่างชาติ" ขึ้น

ขยายความยุคเริ่มต้นหนังไทย


            ประวัติภาพยนตร์ไทยเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2439 เมื่อพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จเยือนสิงคโปร์ และ ชวา วันที่ 10 สิงหาคม พระองค์ท่านมีโอกาสทอดพระเนตรหนังประเภทที่เรียกว่า  Kinestoscope หรือภาพยนตร์แบบถ้ำมองของคณะหนังเร่ของนาย Thomas Edison ซึ่งมีผู้นำมาเล่นถวาย พระพุทธเจ้าหลวงจึงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ชมภาพยนตร์
            ปีถัดมา S.G. Marchovsky และคณะนำเอาหนังของพี่น้องตระกูล Lumiere  แบบที่เรียกว่า  Cinematograph  เข้ามาฉายในกรุงสยาม การฉายหนังครั้งนั้น เป็นการฉายหนังให้สาธารณะชนดูเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2440 รอบแรกที่หนังออกฉาย โดยจัดฉายที่โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ ตั้งอยู่ที่ถนนเจริญกรุง แกล้ประตูสามยอด
           ปี 2447 คณะฉายภาพยนตร์แบบหนังเร่ชาวญี่ปุ่นนำหนังเข้ามาฉาย หนังส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์การสู้รบระหว่าง ญี่ปุ่นกับรัสเซีย ซึ่งกำลังต่อสู้กันในขณะนั้น การฉายใช้วิธีกางผ้าใบชั่วคราวในบริเวณลานว่างของวัดชัยชนะสงคราม หรือวัดตึก
           เมื่อเห็นว่าการฉายหนังครั้งแรกได้ผลดี ปีถัดมาคณะหนังเร่คณะเดียวกันก็กลับมาฉายหนังเร่ในเมืองไทยอีกครั้ง และครั้งนี้ได้สร้างโรงภาพยนตร์ชั่วคราวขึ้นในบริเวณที่ร้างข้างๆบริเวณที่ต่อมามีการสร้างศาลาเฉลิมกรุง จึงเป็นเหตุให้นักธุรกิจชาวสยามคิดสร้างโรงภาพยนตร์ตามบ้าง จึงมีโรงหนังเกิดขึ้นทีละโรงสองโรง เช่น โรงกรุงเทพซินีมาโตกราฟ บริษัทรูปยนต์กรุงเทพ หรือโรงหนังวังเจ้าปรีดา เป็นต้น
          เพราะเหตุที่หนังทีมาฉายที่โรงหนังชั่วคราวนั้นเป็นของคนญี่ปุ่น ชาวกรุงเทพจึงเรียกหนังยุคนั้นว่า 'หนังญี่ปุ่น' อยู่หลายปี ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว หนังที่เอามาฉายเป็นหนังที่สร้างโดยบริษัทสร้างหนัง Pathe ของฝรั่งเศส หนังที่ฉายแต่ละชุดในยุคนั้น เป็นหนังชุด แต่ละชุดประกอบด้วยหนัง 12 ม้วน แต่ละม้วนยาว 500 ฟุต เวลาฉายหนังจะเริ่มตั้งเเต่ 2 ทุ่ม ไปสิ้นสุดลงเวลา 4 ทุ่ม
           เมื่อนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นคนอื่นๆเห็นว่าการฉายหนังเร่เป็นงานที่ทำเงินได้ดีในสยาม จึงเริ่มมองหาสถานที่และสร้างโรงหนังขึ้นตามที่ต่างๆหลายแห่ง หนังจึงกลายเป็นสิ่งบันเทิงของคนกรุงเทพไปในที่สุด
           การฉายหนังของบริษัทต่างชาติในกรุงเทพในยุคนั้นมีการแข่งขันกันสูงมาก มีการลงโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์กันอย่างเอิกเกริก และต่อมาก็มีการให้จับฉลากตั๋วหนังเพื่อให้ของรางวัลแก่ผู้ดูอีกด้วย ข้อสังเกตคือ ในระยะเวลาช่วงแรกนี้ ยังไม่มีหนังเรื่องใดที่สร้างในเมืองไทยเลย
             ในหมู่เจ้าของโรงหนังคนสยามก็มีการแข่งขันกันสูงมากเช่นกัน โดยเฉพาะระหว่างบริษัทใหญ่คือบริษัทรูปยนต์กรุงเทพ และบริษัทพยนต์พัฒนาการ ซึ่งแข่งกันสร้างโรงภาพยนตร์ในเครือของตนขึ้นตามตำบลสำคัญๆทั่วกรุงเทพฯ
             ถึงปี 2462 ทั้งสองบริษัทใหญ่นี้ตกลงรวมตัวกันเป็นบริษัทเดียวกัน คือ สยามภาพยนตร์บริษัท กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่เกือบจะผูกขาดกิจการค้าภาพยนตร์และกิจการโรงหนังทั่วประเทศ
             ปี 2473 เพื่อป้องกันมิให้ภาพยนตร์ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นได้แพร่หลายอย่างกว้างขวาง และมีบทบาทในฐานะสื่อที่มีอิทธิพลสูง รัฐบาลสมัยพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 จึงออกกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่พนักงานตรวจพิจารณาภาพยนตร์ทุกเรื่องก่อนอนุญาติให้นำออกฉาย เรียกว่าพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พุทธศักราช 2473 

ประเภทภาพยนตร์ (Movie Genres)

·        Action movie (ภาพยนตร์แอคชั่น)
Action หมายถึง ภาพยนตร์แบบบู๊ แอ็กชั่น ยิง ต่อสู้ ระทึกใจ เหมาะสำหรับคนชอบความแข็งแรงและศิลปะการต่อสู้ ในภาพยนตร์แนวนี้จะมีฉากยิง ระเบิด เผาสิ่งต่างๆ ที่เราอาจจะหาดูได้ยาก ฉะนั้นคนที่ชอบหนังประเภทนี้ไม่ใช่เพราะชอบความรุนแรง แต่จะหมายถึงคนที่ชอบที่จะสัมผัสกับสิ่งที่หาดูไม่ได้ในชีวิตประจำวันและชอบความตื่นเต้นอยู่ด้วย ปัจจุบันภาพยนตร์ประเภทนี้ มีออกมาฉายกันมากไม่เคยขาดและได้รับการตอบกลับอย่างดี แต่ก็ต้องมีเนื้อหาสาระและมุมมองของการออกแบบฉากได้อย่างลงตัวและสมจริงด้วย อย่างองค์บากทั้งสองภาคก็ขายความแอ๊คชั่นเป็นจุดสำคัญ และอื่นๆ อีกมากมาย
    Adventure (ภาพยนตร์ผจญภัย)
Adventure หมายถึงภาพยนตร์ แนวผจญภัย เข้าป่าฝ่าดง เจอปัญหาอุปสรรคมากมาย และต้องมีการแก้ไข ปัญหาสถานการณ์ หนังแบบนี้ก็เหมาะสมหรับผู้ชมที่ชื่นชอบการผจญภัย เช่น เข้าไปในป่าที่ยังไม่รู้จักว่ามีอะไรบ้างที่รอการเข้าไปค้นหาจากเรา


     War (ภาพยนตร์สงคราม)
War หนังสงคราม ที่มีการอ้างอิงเหตุการณ์สงครามที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เน้นจุดๆ หนึ่งในสงครามนั้นๆ ก็อาจจะนำไปใช้สอนเด็กนักเรียนได้ แต่ก็อาจจะไม่เหมาะในบางเรื่อง เช่น ความรุนแรงหรือความป่าเถื่อนอะไรประมาณนี้ ผมสังเกตว่าถ้าคนที่ไม่ใช่คอหนังสงครามจริงๆ เขาอาจจะไม่อยากดูเลยด้วยซ้ำ แต่คนที่ชอบดูก็จัดได้ว่าคลั่งหนังสงครามไปเลย ส่วนที่เหลือก็เป็นการชอบดูเป็นช่วงๆ ระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง




       Drama Movies (ภาพยนตร์ดราม่า)
Drama ภาพยนตร์ชีวิต ที่จะได้ความรู้สึกซึ้งเศร้า เคล้าน้ำตา ทำให้นึกถึงชีวิตคนจริงๆ บางเรื่องดูแล้วเครียด บางเรื่องก็เศร้ามากๆ แต่พอหนังจบก็โล่งหัว




 Sci-Fi Movies (ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์)
Sci-Fi ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาอ้างอิงวิทยาศาสตร์ แต่ทำออกมาให้น่าสนใจอาจจะผสมจินตนาการเข้าไปด้วย แต่หลายคนบอกว่าไม่ชอบเพราะดูไม่รู้เรื่อง ซึ่งก็เป็นความจริงเพราะบางเรื่องก็ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานเป็นเดิมพันบ้าง แต่ถ้าหากชมบ่อยๆ ก็จะเริ่มรู้เรื่องและกลายเป็นคนชอบหนังประเภทนี้ก็ได้ หนังแนวนี้สามารถต่อจินตนาการให้เราได้ เผลอๆ คนที่ดูอาจจะคิดอะไรดีๆ ออกมาสร้างประโยชน์ให้กับคนรอบข้างได้ และแนวคิดของหนังแนวนี้ก็เป็นแรงกระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์พยายามทำให้ได้แบบในหนัง
·    



 Family (ภาพยนตร์ครอบครัว)
Family เป็นภาพยนตร์ที่คนทุกคนในครอบครัวดูได้ ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความผูกพัน ของคนในครอบครัว ส่วนใหญ่ก็จะแฝงแง่คิดเอาไว้และเดินเรื่องแบบเรียบง่าย เน้นความรักกันของคนในครอบครัว


 Thriller Movies (ภาพยนตร์ระทึกขวัญ)
Thriller ภาพยนตร์แนวสืบสวนสอบสวน ที่มีการผูกเรื่องเพื่อให้ผู้ชมลุ้นไปด้วยว่าผลสุดท้ายจะออกมาในแนวใด เหมาะกับผู้ที่ชอบการสืบ นักสืบน้อยทั้งหลาย มันมีเสน่ห์ตรงทำให้ผู้ชมต้องติดตามตลอดทั้งเรื่อง ดังนั้นหากเรื่องไหนทำให้เกิดปมช้า ก็ทำให้หนังน่าเบื่อ และตอนจบและแนวเรื่องต้องมีความแปลกใหม่




 Crime (ภาพยนตร์อาชญากรรม)
Crime ภาพยนตร์อาชญากรรม แนวการแก้ไข ต่อสู้กับคดีต่างๆ ของตำรวจ

·        Documentaries (ภาพยนตร์สารคดี)
Documentary ภาพยนตร์แนวสารคดีที่ดูไปด้วย ได้สาระไปด้วย


 Animation (ภาพยนตร์การ์ตูน)
Animation หมายถึงภาพยนตร์การ์ตูน ซึ่งปัจจุบันกำลังมาแรง เช่น finding nemo เป็นต้น ปัจจุบันมีการผลิตออกมาได้น่าดูและแนบเนียนขึ้น ประเทศไทยเองก็มีออกมาหลายเรื่องและได้รับการต้อนรับมากโดยเฉพาะเด็กๆ ที่ขาดกันไม่ได้

Comedy (ภาพยนตร์ตลก)
Comedy ภาพยนตร์ตลก เบาสมอง เหมาะกับคนที่ต้องการดูเพื่อการพักผ่อน ไม่ต้องคิดอะไรมาก


·      

          

·       

·      Erotic (ภาพยนตร์ผู้ใหญ่)
Erotic เป็นภาพยนตร์ที่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีอายุไม่ถึง 18 ปี เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเพศ ในประเทศไทยไม่มีเพราะทำออกมาก็ไม่ผ่านการเซ็นเซอร์

·      Fantasy (ภาพยนตร์ผสมจินตนาการ)
Fantasy ภาพยนตร์ที่มีการผสมจินตนาการแบบที่เราๆ ไม่ค่อยเห็นในชีวิต จะเรียกว่า เหนือจริงก็ได้ เด็กๆ หลายคนชอบจนถึงขั้นติดเลย

·        Musicals Movies (ภาพยนตร์เพลง)
Musical ภาพยนตร์เพลง เช่น ชิคาโก ประเทศไทยยังไม่มีให้เห็นเป็นเรื่องเป็นราวสักเรื่อง แต่ก็ยากที่จะทำให้มีรายได้เพราะความนิยมของคนแนวนี้ไม่มาก

·        Romance (ภาพยนตร์โรแมนติก)
Romance ภาพยนตร์แนวรักโรแมนติก เหมาะกับคู่หนุ่มสาวและผู้ที่กำลังมีความรักทั้งหลายหรือคนที่กำลังอยากจะรักใคร ชมไว้เป็นแนวทางในการทำตนเมื่อมีคนรัก จะได้ความรู้สึกมากขึ้นหากเราเคยมีประสบการณ์และความรู้สึกเหมือนในภาพยนตร์ จึงไม่แปลกใจที่หลายคนร้องไห้กับหนัง แต่อีกหลายคนอาจจะมองว่ามันซึ้งตรงไหน ไม่ผิด

·       
   Western (ภาพยนตร์ตะวันตก)
Western หนังคาวบอยตะวันตก ปัจจุบันอาจจะดูไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไรเพราะความแปลกใหม่ในการนำเสนอหายากขึ้นและเสี่ยงมากที่จะทำออกมา

พัฒนาการของภาพยนตร์


  • พ.ศ. 2438 ภาพยนตร์เรื่องแรกของโลก "Arrival of a Train at La Ciotat" ออกฉายที่กรุงปารีส มีความยาว 50 วินาที

  • พ.ศ. 2439 ภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องแรกของโลก "The Devil's Castle" ออกฉาย

  • พ.ศ. 2439 ฉาก Love Scene ฉากแรกของโลก ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง "The Kiss" มีฉากจูบกันอย่างดูดดื่มต่อเนื่องเป็นเวลา 15 วินาที จากความยาวของภาพยนตร์ 47 วินาที
  • พ.ศ. 2440 ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับชาติสยามครั้งแรกถูกถ่ายทำขึ้น คือภาพยนตร์สั้นของการเสด็จประพาสยุโรปของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พ.ศ. 2444 ภาพยนตร์ภัยพิบัติเรื่องแรกของโลก "Fire!" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2445 ภาพยนตร์แนวไซไฟ (นิยายวิทยาศาสตร์ Science Fiction) เรื่องแรกของโลก "A Trip to the Moon" ออกฉายก่อนการไปเยือนดวงจันทร์จริง 67 ปี
  • พ.ศ. 2448 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีสัตว์เป็นสุนัขร่วมแสดง "Rescued by Rover" ออกฉาย ใช้ทุนเพียง 37.40 ดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นภาพยนตร์ที่ใช้ทุนต่ำที่สุด และ Guiness Book บันทึกไว้
  • พ.ศ. 2449 ภาพยนตร์เรื่องยาวเรื่องแรกของโลก "The Story of the Kelly Gang" ออกฉายด้วยความยาว 70 นาที
  • พ.ศ. 2449 การ์ตูนเรื่องแรกของโลก "Humorous Phases of Funny Faces" ออกฉายที่อเมริกาความยาว 3 นาที
  • พ.ศ. 2457 ภาพยนตร์ตลกเรื่องแรกของโลก "Tillie's Punctured Romance" ออกฉาย รับบทโดย ชาร์ลี แชปลิน
  • พ.ศ. 2458 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ยาวกว่า 100 นาที เรื่องแรกของโลก "The Birth of a Nation" ออกฉาย และเป็นเรื่องแรกที่ได้ฉายในทำเนียบขาว
  • พ.ศ. 2459 ฉากเปลือยฉากแรกของโลก ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง A Daughter of the Gods ถ่ายทำที่น้ำตก โดย Annette Kellerman คือสาวใจกล้าที่เปลือยเต็มตัวในภาพยนตร์
  • พ.ศ. 2460 การ์ตูนยาวเรื่องแรกของโลก "El Apostol" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2466 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก "นางสาวสุวรรณ" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2468 เริ่มมีการฉายภาพยนตร์บนเครื่องบินขึ้นเป็นครั้งแรก คือเรื่อง "The Lost World"
  • พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของโลก "The Jazz Singer" และภาพยนตร์ไทย ทำโดยคนไทยเรื่องแรก "โชคสองชั้น" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2471 ภาพยนตร์การ์ตูนมีเสียงเรื่องแรกออกฉาย คือ มิกกี้ เมาส์ Steamboat Willie
  • พ.ศ. 2475 ภาพยนตร์เสียงของไทยเรื่องแรก "หลงทาง" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2476 ภาพยนตร์สีเรื่องแรกของไทย "ปู่โสมเฝ้าทรัพย์"
  • พ.ศ. 2480 การ์ตูนสีเรื่องแรกของโลก "สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2488 ภาพยนตร์ที่มีคนแสดงร่วมกับตัวการ์ตูนเรื่องแรก "Anchors Aweigh" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2498 การ์ตูนไทยเรื่องแรก "เหตุมหัศจรรย์" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2499 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายภาพใต้ท้องทะเล "The Silent World" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2538 การ์ตูนที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ล้วนเรื่องแรก "ทอย สตอรี่" ออกฉาย